วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีป้องกันภัยจากพายุ







          ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าได้ยินคำว่า "พายุ" อยู่บ่อยๆ ทั้งจากโทรทัศน์, วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ แถมประจวบกับที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศพม่าโดน "นาร์กีส" หรือ "พายุไซโคลน" ถล่มซะจนสร้างความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ จนทำให้หลายๆ คนอยากรู้จักกับพายุมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้รู้จักและหาป้องกันตัวเองได้ ดังนั้น เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับพายุให้มากขึ้น โดยเฉพาะ "พายุหมุนเขตร้อน" ที่มักเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านรอบๆ พายุคืออะไร.. ?

          พายุ
คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

         พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่างๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

          พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) ต่างๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ

          1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

          2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้าเกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

          3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)

          4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง 

          5. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

          6. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง




ถิ่นกำเนิดหรือบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน

         
พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่วๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตร พายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 องศาเซลเซียส หรือ 27 องศาเซลเซียส ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด

          พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

          ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้ 

          - พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

          - พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) 

          - ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป

          สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก "พายุหมุนเขตร้อน" ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า "ไซโคลน" แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้น จะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล

          พายุหมุนเขตร้อน หรือ พายุไซโคลน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง จะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (30 เมตร/วินาที, 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี "ตาพายุ" ศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า "ตา" เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อย ล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา 

          ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะปรากฏลมแรง ฝนตกหนัก และมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก ซึ่งการเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปขดวงก้นหอยที่เด่นชัด แถบหรือวงแขที่อาจยื่นโค้งเป็นระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว 

          หากอยู่ซีกโลกเหนือพายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ความเร็วสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนที่เคยวัดได้มีความเร็วมากกว่า 85 เมตร/วินาที (165 นอต, 190 ไมล์/ชั่วโมง, 305 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พายุที่รุนแรงมากและอยู่ในระยะก่อตัวช่วงสูงสุดบางครั้งอาจมีรูปร่างของโค้งด้านในแลดูเหมือนอัฒจรรย์สนามแข่งขันฟุตปอลได้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบางครั้งในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปรากฏการณ์อัฒจรรย์" (stadium effect)

          วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความรุนแรงมาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24 กิโลเมตร (5-15 ไมล์) ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงในแย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตัมจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง (ความเร็วสูงสุดที่ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมด ทำให้พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม 

          แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ แม้พายุหมุนจะอ่อนตัวลงที่ปลายผนังตาที่ถูกแทนที่ แต่ที่จริงแล้วการเพิ่งผ่านปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในรอบแรกและชะลอการเกิดในรอบต่อไป เป็นการเปิดโอกาสให้ความรุนแรงสะสมตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมเกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

          - ระดับที่ 1 มีความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อสิ่งปลูกสร้าง มีน้ำท่วมขังตามชายฝั่ง  

          - ระดับที่ 2 มีความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ทำให้หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนเสียหายบ้าง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง  

          - ระดับที่ 3 มีความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก น้ำท่วมขังถึงพื้นบ้านชั้นล่าง 

          - ระดับที่ 4 มีความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างสูง หลังคาบ้านเรือนบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นบ้าน  

          - ระดับที่ 5 มีความเร็วลมมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำลายล้างสูงมาก หลังคาบ้านเรือน ตึกและอาคารต่างๆ ถูกทำลาย พังทลาย น้ำท่วมขังปริมาณมาก ถึงขั้นทำลายทรัพย์สินในบ้าน อาจต้องประกาศอพยพประชาชน 

          ขณะเดียวกันพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มมีการกำหนดชื่อเรียก โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดรายชื่อเพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล เพื่อทุกประเทศในบริเวณนี้ใช้เพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวขึ้น โดยเรียงตามลำดับให้เหมือนกัน

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศสมาชิกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย โดยนำชื่อมาเรียงเป็น 5 สดมภ์ เริ่มจากกัมพูชาจนถึงเวียดนามในสดมภ์ที่ 1 เมื่อหมดแล้วให้เริ่มขึ้นสดมภ์ที่ 2 ถึง 5 แล้วจึงเวียนมาเริ่มที่สดมภ์ 1 อีกครั้ง จนกว่าจะมีการกำหนดชื่อพายุครั้งใหม่อีก
อันตรายของพายุ

1. ความรุนแรงและอันตรายอันเกิดจากพายุไต้ฝุ่น


          เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น พัดผ่านที่ใดย่อมทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั่วไป เช่น บนบกต้นไม้จะล้ม ถอนราก ถอนโคน จะทำให้เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตาย เรือกสวนไร่นาเสียหายหนักมาก เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ๆ ขนาดหมื่นตันอาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายล่มจมสิ้น ไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงโดยคลื่นและลม 2. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุโซนร้อน           พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ฉะนั้น อันตรายอันจะเกิดจากการที่พายุนี้พัดมาปะทะลดลงในระดับรองลงมาจากพายุไต้ฝุ่น แต่ถึงกระนั้นก็ตามความรุนแรงที่จะทำให้ความเสียหายก็ยังมีมากเหมือนกัน ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจะจมเรือขนาดใหญ่ๆ ได้ ต้นไม้ถอนรากถอนโคนดังพายุโซนร้อนที่ปะทะฝั่งแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 

          ถ้าการเตรียมการรับสถานการณ์ไม่เพียงพอ ไม่มีการประกาศโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายอย่างทั่วถึง ไม่มีวิธีการดำเนินการที่เข้มแข็งในการอพยพ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ในระหว่างเกิดพายุ การสูญเสียก็ย่อมมีการเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน 3. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุดีเปรสชั่น           พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกปานกลางทั่วไป ตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่งๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ไม่ปลอดภัยเสียทีเดียว ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ 

          และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน ฉะนั้น เมื่อได้รับทราบข่าวว่ามีพายุดีเปรสชั่นขึ้นในทะเลก็อย่าได้ไว้วางใจว่าจะมีกำลังอ่อนเสมอไปอาจจะมีอันตรายได้เหมือนกัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนานๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากภายุได้ผ่านไปแล้ว 4. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุฤดูร้อน           พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่เกิดขึ้นโดยเหตุและวิธีการต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อมๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนที่ทนกำลังแรงลมไม่ไหวพังทะลายกระเบื้องหลังคาปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตกได้ ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงลูกเห็บอาจจะตกถูกผู้คนได้รับความบาดเจ็บและบ้านช่องเสียหายได้ การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ           1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ

          2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา

          3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร 

          4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น 

          5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร 

          6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


- www.kapook.com

วิธีป้องกันไฟป่า

1.      การป้องกันไฟป่า     แบ่งออกเป็น  2  กิจกรรม  คือ
2.1   การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า   เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ  โดยดำเนินการทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า  ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความเสียหายของไฟป่าที่จะเกิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้   การประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า  ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ   ดังนี้
              1.1)  ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่   ดำเนินการโดยจัดหน่วยงานประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่  ออกพบปะกับประชาชนโดยตรง  เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงผลเสียหายของไฟป่าที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้   ดิน   น้ำ    และสัตว์ป่า      ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ  และขอความร่วมมือให้ประชาชนเลิกจุดไฟเผาป่า และช่วยป้องกันไฟป่า   การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่จะทำในรูป  การจัดรถติดเครื่องขยายเสียงกระจายเสียงไปตามหมู่บ้าน  จัดภาพยนตร์หรือดนตรีไปแสดงตามหมู่บ้าน  เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนมาชุมนุมกันแล้วสอดแทรกการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันไฟป่า  ระหว่างพักการแสดงหรือทำในรูปการเข้าร่วมประชุม   หมู่บ้าน  ตำบล   หรือการประชุมกลุ่มกิจกรรมของหมู่บ้านเพื่อพบประชาชนโดยตรง
             1.2)  ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน          ดำเนินการโดยขอความร่วมมือสื่อมวลชนเผยแพร่  บทความ  สารคดีเกี่ยวกับไฟป่า  ประกาศขอความร่วมมือป้องกันไฟป่าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  ทำสปอร์คำขวัญเกี่ยวกับไฟป่า  กระจายเสียงตามสถานีวิทยุจัดทำสไลด์ฉายตามโรงภาพยนตร์
             1.3)  ป้ายประชาสัมพันธ์  ดำเนินการจัดทำแผ่นป้ายประกอบด้วยรูปภาพและคำขวัญป้องกันไฟป่า  เชิญชวนให้ราษฎรร่วมมือป้องกันไฟป่าและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  เช่น  ป่าไม้เป็นศรี  อัคคีเป็นภัย  ร่วมแรงร่วมใจ  ป้องกันไฟป่า                 โดยติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่สาธารณะ  ซึ่งประชาชนทั่วไปมองเห็นได้ง่าย เช่น ตามสถานที่ราชการ แนวสองข้างทางถนน  หรือตามแนวทางเดินป่า  เป็นต้น
             1.4)   สิ่งตีพิมพ์      ได้แก่     รูปลอก     แผ่นปลิว   แผ่นพับ  โปสเตอร์   ปฏิทิน
มีข้อความหรือบทความสั้น ๆ   เกี่ยวกับไฟป่าเพื่อแจกจ่ายตามหมู่บ้าน โรงเรียน  สถานที่ราชการ  เป็นต้น 

            1.5)เอกสารเผยแพร่  ดำเนินการโดยจัดทำจุลสารบรรยายถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สภาพปัญหาไฟป่า การแก้ไขปัญหาไฟป่า  การป้องกันไฟป่าโดยจัดทำแยกเป็นเรื่องๆ เพื่อให้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าอย่างต่อเนื่องตลอดปี  มิใช่ดำเนินการเฉพาะแต่ในช่วงฤดูไฟป่าเท่านั้น
            1.6)  นิทรรศการ       ดำเนินการโดยจัดทำภาพกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันไฟป่า  ข้อดีและข้อเสียของไฟป่าไว้แสดงตามสถานศึกษา สถานที่ราชการ  สถานที่สาธารณะ  เช่น  หมู่บ้าน วัด และในงานประเพณีต่าง ๆ ที่มีเยาวชนประชาชนร่วมชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก  โดยเน้นให้ความรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อปัญหาไฟป่า  แก่ประชาชนและเยาวชนโดยทั่วไป
              1.7)  ให้การศึกษา  ดำเนินการโดยจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้ความรู้แก่นักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องปัญหาไฟป่าแก่เยาวชน      เพื่อให้เยาวชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้    และเกิดความรู้สึกรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้   รูปแบบของการให้การศึกษา   ได้แก่     การจัดฉายสไลด์  ภาพยนตร์ วีดีโอ ภาพบรรยาย สอนร้องเพลงเกี่ยวกับป่าไม้  หรือผูกเรื่องที่จะสอนเป็นนิทาน ละคร หุ่นกระบอก ซึ่งจะดึงดูดเยาวชนให้มีความสนใจที่จะรับรู้มากขึ้น
                2.2 การจัดการเชื้อเพลิง       โดยการทำแนวกันไฟและการชิงเผา  ในพื้นที่ที่มีความสำคัญสูงหรือพื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการเกิดไฟป่า     เช่น  มีวัชพืชหนาแน่น  พื้นที่สองข้างทาง  ซึ่งมีโอกาสเกิดไฟป่าได้ง่ายและเมื่อเกิดไฟป่าจะมีความรุนแรงมากยากต่อการควบคุม การจัดการเชื้อเพลิงจึงมีวัตถุประสงค์  
เพื่อลดโอกาสในการเกิดไฟป่า  ถ้าเกิดไฟป่าขึ้นไฟนั้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเดิม ทำให้สามารถควบคุมได้ง่าย

         3.สนับสนุนการดับไฟป่าโดยชุดปฎิบัติการพิเศษดับไฟป่า  (หน่วยเสือไฟ)
      
           ในช่วงฤดูไฟป่าศูนย์ฯจะต้องมีการเตรียมกำลังของชุดปฎิบัติการพิเศษดับไฟป่า  (หน่วยเสือไฟ)
เพื่อสนับสนุนการดับไฟป่าในกรณีเกิดไฟป่าในพื้นที่วิกฤติ และได้รับการร้องขอจากหน่วยดับไฟป่าต่างๆ  ในพื้นที่  3  จังหวัด  คือ  เชียงใหม่  ลำพูน  และแม่ฮ่องสอน  เพื่อส่งกำลังเข้าไปสนับสนุนตลอด  24  ชั่วโมง

ข้อมูลอ้างอิง
- ป้องกันไฟป่า
- youtube

การป้องกันอุกทกภัยเบื้องต้น



        อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดิน เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

 


         อุทกภัย

        ในภาวะที่เกิดน้ำท่วม ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
        กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้ หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มสุกเสียก่อน

ภาพ:44444777.jpg


            ชนิดของอุทกภัย

        ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง และแผ่นดินไหว ทำให้เขื่อนแตก เกิดภัยจากน้ำท่วมได้แบ่งได้ 2 ชนิด

              อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน

        น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้ การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย

ภาพ:454646465.jpg


           อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง

        เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืช ผลการเกษตร

          อุทกภัยจากคลื่นซัดฝั่ง

        เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้

ภาพ:200610241414571.jpg


        การป้องกันอุทกภัย

  • ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
  • สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
  • เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
  • ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
  • เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
  • ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
  • หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค
                                             http://www.youtube.com/watch?v=1dobDlIan00
         ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- วิกิพีเดีย
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- คลังปัญญา

วิธีป้องการความปลอดภัยการเกิดแผ่นดินไหว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

         ตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของบ้านและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ทำการยึดอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ตู้ ชั้นหนังสือ ไว้กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา ไม่วางสิ่งของไว้บนหลังตู้หรือที่สูง ศึกษาการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง วิธีปิดวาล์วแก๊ส วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน รวมถึงเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

         ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

         ตั้งสติให้มั่น อย่าตื่นตระหนกตกใจ ให้หาที่หลบกำบังในจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งของที่มีโอกาสหล่นลงมาหรือวัสดุตกใส่ ถ้าอยู่นอกอาคาร ให้อยู่ห่างจากอาคารสูง เสาไฟฟ้า หรือต้นไม้ใหญ่ให้มากที่สุด เพื่อป้องกันสิ่งปลูกสร้างล้มทับ หากอยู่บริเวณชายทะเลและได้รับประกาศแจ้งเตือน ให้รีบอพยพขึ้นที่สูงหรืออยู่ห่างจากชายฝั่งให้มากที่สุด เพราะอาจเกิดสึนามิได้ ผู้ที่อยู่ในรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ รอจนกระทั่งแผ่นดินไหวสงบลง ไม่ควรจอดรถใกล้อาคาร สะพาน เสาไฟฟ้า หรือไหล่ถนน เพราะอาจเกิดแผ่นดินถล่ม

          ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูง ให้หลบอยู่บริเวณจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง และอยู่ห่างจากประตู หน้าต่างที่มีลักษณะเป็นกระจก หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์และบันไดหนีไฟในการหนีออกจากตึก เนื่องจากโครงสร้างของตึกอาจได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ห้ามจุดเทียน ไม้ขีดไฟ หรือประกอบกิจกรรมที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วไหลอยู่บริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ และควรหาที่หลบให้พ้นจากสิ่งของหล่นทับ เช่น ใต้โต๊ะที่แข็งแรงหรืออยู่ชิดใต้เสา รอจนกว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวสงบลงจึงค่อยออกจากตึก

          หลังจากแผ่นดินไหวสงบลง

         ตรวจสอบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้าพบผู้ได้รับบาดเจ็บให้รีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อคทำให้อาคารถล่มลงมาได้ ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ แทงจนได้รับบาดเจ็บ ตรวจสอบสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส หากแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟ ห้ามอยู่ใกล้บริเวณที่มีสายไฟขาดหรือวัสดุสายไฟพาด เพราะอาจโดนไฟฟ้าดูด และเปิดวิทยุรับฟังคำแนะนำฉุกเฉิน ตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น ไม่เข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูงหรืออาคารที่เสี่ยงต่อการถล่มลงมา เพราะอาจได้รับอันตรายได้ ที่สำคัญ อย่าหลงเชื่อข่าวลือ ควรติดตามรับฟังประกาศแจ้งเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น

ข้อมูลอ้างอิง
 - http://forum.dekying.com/index.php?topic=57.0

มาตราการการป้องกันภัยจากสึนามิ

มาตราการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ

1. เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ เนื่องจากคลื่นสึนามีเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูง
2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ โดยด่วน
3. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพ คนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง
4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะหนึ่งจึงสามารถลงไปชาดหาดได้
6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง
9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
10. จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
11. ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
12. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัยด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
13. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีทัน
14. คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์
ข้อมูลอ้างอิง